วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสร้างพระพิฆเนศ ขนาด 2.5 เมตรด้วยระบบ CNC

การสร้างพระพิฆเนศขนาดสูง 2.5 เมตร ด้วยระบบดิจิตัล เป็นการสร้างโมเด็ลโฟมก่อน ก่อนที่จะนำมาหล่ออีกทีหนึ่ง แต่ขั้นตอนในการทำ เราจะนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยทำแทนการทำแบบเดิม ที่ใช้มือปั้น

การออกแบบก่อนที่จะสร้างนั้น เราทำได้ 2 วิธี คือ

1. ออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตรง

วิธี นี้เราจะใช้โปรแกรมช่วยออกแบบ 3 มิติ (3D CAD) เช่น โปรแกม 3D studio Max, Maya, Zbrush เป็นต้น วาดออกมาเป็น 2 มิติเลย วิธีนี้ เราจะต้องมี Graphic designer เก่งๆ มาทำและคนๆนี้จะต้องเก่งด้านงานประติมากรรมด้วย ปัจจุบันก็ยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก

2. ปั้นด้วยมือขนาดเล็ก ประมาณความสูง 1 ฟุต จากนั้นนำเข้าเครื่องสแกนแบบ 3 มิติ (3d Scanner) วิธีนี้เหมาะสำหรับท่านที่ไม่มีคนวาด 3 มิติ แต่ว่าเครื่อง สแกนเนอร์ 3 มิติ ปัจจุบันยังมีราคาแพงอยู่


แบบต้นแบบที่เราต้องการทำ




หลังจากที่เราได้แบบ 3 มิติ จากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เราจะมาทำการขยายให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการ คือ 2.5 เมตร ประมาณ 8 เท่า ถ้าเราต้องการสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ เราก็ขยายเพิ่มไปเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ



จากนั้นเราจะกัดโมเด็ลด้วยเครือง CNC Router Machine.

แต่ว่าขนาด ขององค์พระพิฆเนศมีขนาดใหญ่กว่าตัวเครื่องจักรของเรา ดังนั้นเราจะต้องแบ่งออกเป็นชิ้นย่อยๆด้วยโปรแกรม ในงานนี้เราจะแบ่งออกมาเป็นทั้งหมด 38 ก้อน โดยใช้โฟมขนาดก้อนละ 50x50x20 ซม. เนื่องจากเครื่องที่เรามีอยู่เป็นเครื่องขนาดเล็ก คือขนาด 60x60x30 ซม. ถ้าเรามีเครื่องที่ใหญ่กว่านี้เราก็จะใช้ก้อนโฟมใหญ่ จำนวนก้อนโฟมก็จะลดลง

เมื่อเราทำการตัดแบ่งจน เป็นที่พอใจแล้ว เราก็จะนำข้อมูลของแต่ละก้อนมาคำนวณเพื่อใช้ในการกัดโฟมด้วยโปรแกรม CAM (Computer Aids Manufacturing) ในโปรแกรมนี้เราก็จะต้องกำหนด ขนาดของก้อนโฟม ว่ามีขนาดเท่าไหร่ ใช้ดอกสว่านโตเท่าไหร่ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมมูลนี้ ในทางเทคนิคเราเรียกว่า G-Code มันจะเป็นข้อมูลที่มีแต่ตัวเลขไปเข้าเครื่อง CNC เพื่ทำการกัดโฟม



ตัวอย่างการตัด แบ่ง รูปปั้นป็นชิ้นย่อยๆ โดยแต่ละชิ้นจะมีขนาด ไม่เกิน 60x60x20 ซม.

จากนั้นก็ทำการกัดแต่ละก้อน ซึ่งแต่ละก้อนจะใช้เวลประมาณ ครึ่งชม. จนถึงหนึ่งชม. ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานครับ

























ข้อได้เปรียบของการนำเทคนิคนี้มาใช้ก็คือ

1. ทำงานเร็วขึ้นเทียบกับการปั้นด้วยมือทั้งองค์

2.เราสามารถรักษารูปทรง ขนาด รายละเอียดทั้งหมดครบถ้วน

3.เราสามารถเก็บข้อมูลของงานไว้ เพื่อนำมาใช้ในอนาคตได้

4.เราสามารถขยาย/ย่อ ให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการได้ไม่จำกัด เช่นเราสามารถขนาดไปถึง 30 เมตรหรือย่อลงมาเหลือแค่ 1-2 นิ้วได้

5. เมื่อเราสแกนแล้ว เรายังสามารถที่จะแก้ไขชิ้นงานให้ดีก่อนที่จะลงมือทำได้

เห็น ไหมครับว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานศิลป ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเราครับ ทีนี้มีคำถามว่าแล้วงานจะออกมาจากเครื่องจักรนี่ เราจะยอมรับได้หรือ?

ผม คิดว่า งานแบบนี้สุดท้ายเราก็ต้องให้ช่างประติมากรรมมาตกแต่งอยู่ดี เพราะการทำออกมาจากเครื่องจักรนั้นเป็นเพยงการทำงานที่ 80-90% เท่านั้น มนุษย์จะต้องมาเติมเต็มงานให้ครบ 100%

สรุปว่า ช่างประติมากรรมก็ไม่ตกงานนะครับ แต่ช่างจะทำงานได้เร็วขึ้น อย่างงานนี้ เราปั้นองค์เล็กประมาณ 1 ฟุต ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วันก็ทำเสร็จ แถมงานก็ไม่เรียบร้อยเพราะยังไม่ได้ประกอบทั้งองค์

ถ้าหากใครสงสัย หรืออยากแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ก็เชิญครับยินดีมากๆ ขอให้ติดต่อได้ที่

สมภพ
0815651166
sompob@spar.co.th