ปัจจุบันการสร้างพระด้วยโลหะ มีการทำได้อยู่ 2 วิธี คือ
1. การหล่อโลหะ ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ทำกันอยู่ทั่วไป โดยการเผาโลหะจนหลอมเหลว แล้วนำมาเทลงบนแม่พิมพ์ โลหะที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น ทองเหลือง บอร์น ทองแดง ฯลฯ
2. การบุดุนโลหะ เป็นการนำโลหะแผ่น ความหนาประมาณตั้งแต่ 1-3 มม มาตี เคาะ ขึ้นรูป
รายละเอียดของงานบุ
งานบุ เป็นงานช่างที่ ทำให้เป็นผลสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติงานตามขนบนิยมโบราณอย่างวิธีบุโลหะ ในลักษณะตกแต่งผิวภายนอกของงานประเภทศิลปภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และสถาปัตยกรรม ให้มีคุณค่าสวยงามและมั่งคงถาวร
คำว่า "บุ" เป็นคำกริยาอย่างหนึ่ง หมายถึง การเอาของบางๆทา หรืออีกนัยหนึ่งคือ การตีให้เข้ารูป เช่น บุขันทองลงหิน เป็นต้น
วัสดุที่เหมาะกับงานบุ คือ ทองคำ ทองแดง ดีบุก
ช่างบุ ที่เป็นช่างหลวงอยู่ในจำพวกช่างสิบหมู่มาแต่โบราณกาล คือ ช่างประเภทที่ทำการบุโลหะให้แผ่ออก เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปหุ้มคลุมปิดเข้ากับ "หุ่น" ชนิดต่างๆ เพื่อปิดประดับทำเป็นผิวภายนอกของ "หุ่น" ที่ทำขึ้นด้วยวัตถุต่างๆ เช่น ไม้ ปูน โลหะ หิน เป็นต้น ให้เกิดความงาม มีคุณค่า และมีความคงทนถาวรอยู่ได้นานปี งานบุโลหะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ด้วยกันคือ
- การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเรียบ เป็นการ นำเอาโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งมาทำการตีแผ่ออกให้เป็นแผ่นแบนบางๆ ตามขนาดที่ต้องการ จึงนำเข้าปิดบุทับบนหุ่นที่ต้องการบุทำผิวให้เป็นโลหะชนิดนั้น มักบุลงบนสิ่งก่อสร้างประเภท ก่ออิฐถือปูนเป็นปูชนียสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์ หรือพระมหาธาตุเจดีย์ พระเจดีย์ทรงปราสาท เป็นต้น งานบุโลหะด้วยโลหะแผ่นเช่นนี้ ส่วนมากยังนิยมลงรักและปิดทองคำเปลวทับลงบนแผ่นโลหะที่บุทับลงในที่นั้น อนึ่ง งานบุโลหะแผ่นผิวเรียบแล้วลงรักปิดทองคำเปลวนี้ สมัยโบราณเรียกว่า บุทองสุวรรณจังโก หรือ บุทองปะทาสี
- การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเป็นลวดลาย เป็นการ ทำแผ่นโลหะผิวเรียบๆ ให้เกิดเป็นลวดลายนูนขึ้นบนผิวหน้าแผ่นโลหะนั้น โดยการใช้แผ่นโลหะทำให้เป็นลวดลายด้วยแม่พิมพ์หิน และตบด้วยถุงทรายก่อนจะนำไปบุทับลงบนหุ่นชนิดต่างๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อรับการตกแต่งด้วยงานบุ งานบุลักษณะผิวเป็นลวดลายนี้ มักเป็นชิ้นงานในลักษณะราบ และการนำเข้าติดกับหุ่น ซึ่งมักทำด้วยไม้ จึงมักใช้หมุดตะบู่เข็มทำด้วยทองเหลืองตรึงให้แผ่นหรือชิ้นงานติดกับหุ่น นั้น
ตัวอย่างผลงานของช่างบุในอดีต มีดังนี้
- งานบุประดับสถาปัตยกรรม ได้แก่ บุพระสถูปเจดีย์ บุพระพุทธปรางค์ บุเครื่องลำยองประกอบหน้าบัน บุหัวเสา
- งานบุประดับราชภัณฑ์ ได้แก่ ฐานพระเบญจา พระแท่นราชบัลลังก์ บุษบก พระลองประกอบพระโกศ ฝักพระแสง
- งานบุประดับประติมากรรม ได้แก่ บุพระพุทธรูป บุพระพิมพ์ บุปลาตะเพียนทองเงิน
เครื่องมือและอุปกรณ์ของช่างบุ
1. ค้อนเหล็ก สำหรับตีแผ่โลหะ
2. ค้อนไม้
3. ค้อนเขาควาย
4. ทั่งเหล็ก
5. กะหล่อน อุปกรณ์ชนิดหนึ่งลักษณะ คล้ายทั่ง แต่หน้าเล็กและมน
6. เติ่งไม้ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ท่อน หน้าเว้าตื้นๆ
7. กรรไกร
8. สว่านโยน
9. ไม้เนียน ทำด้วยเขาควาย
10. แม่พิมพ์ ชนิดทำด้วยหิน หรือทำด้วยไม้
11. ถุงทราย
12. ชันเคี่ยว
13. สิ่วสลักหน้าต่างๆ
14. หมุด ทำด้วยโลหะผสม
ที่มาของข้อมูล
http://www.thaigoodview.com/node/89400
บริษัท สปาร์แมคคาทรอนิคส์ จำกัด
ที่อยู่
27/11 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์
ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
Tel : 66-3446-6429 ,66-3446-6535 ,08-9120-3191 ,08-1454-8849
Fax. 66-3446-6428
เบอร์โทรศัพท์
เบอร์มือถือ
เบอร์แฟ็กซ์
034466428
อีเมล์
sparmec@gmail.com
เว็บไซต์
www.spar.co.th