การปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ยุคดิจิตัล 4.0
ปัจจุบันการปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5-10 เมตรขึ้นไป เป็นการขึ้นโครงสร้างด้วยการถักเหล็กให้เป็นรูปร่างใกล้เคียงก่อน จากนั้นถึงจะทำการฉาบปูนทีหลัง
แต่เมื่อความก้วหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ การนำเครื่องมือเครื่องไม้ วิธีการใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม ทำให้การทำพระใหญ่มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคนิคการสแกนแบบ 3 มิติ การนำเครื่องจักร CNC มากัดโฟมต้นแบบ การนำโปรแกรม CAD/CAM มาออกแบบและคำนวณ จึงทำให้งานออกมาได้ดี เร็ว และแม่นยำกว่า
สิ่งที่ข้อได้เปรียบในการสร้างพระใหญ่ ยุคดิจิตัล 4.0
1. งานสร้างต้นแบบ เราสามารถทำแบบขนาดเล็กได้ เช่น ต้นแบบเท่าคนจริง
2. เมื่อทำการสแกน 3 มิติแล้ว เราจะได้ไฟล์ 3 มิติ ออกมา จากไฟล์นี้ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
2.1 สามารถคำนวณหา พื้นที่องค์พระ เพื่อที่จะหา น้ำหนักของพระ
2.2 เมื่อได้น้ำหนัก เราสามารถนำไปออกแบบโครงสร้าง , ฐานราก
2.3 รู้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้
3. เราสามารถแบ่งองค์พระเป็นชั้นๆ แล้วทำการหล่อแต่ละชิ้น
4. การหล่อเราสามารถหล่อเป็นชิ้นย่อยๆ ขนาด 2-3 เมตรตามขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสม
5. การหล่อเราสามารถหล่อด้านล่างหรือที่ใดๆก็ได้ เมื่อหล่อเสร็จถึงนำขึ้นไปประกอบ
6. การทำงานเราสามารถแบ่งการทำงานออกเป็นทีมได้ เช่น ทีมถอดพิมพ์ , ทีมติดตั้ง ฯลฯ
7. สามารถร่นระยะเวลาในการทำงานลงได้
8. มีความถูกต้องแม่นยำสูง
9. การออกแบบโครงสร้างที่ดี โดยการวางเสาและคานให้ใกล้เคียงกับองค์พระ ทำให้ทำงานง่าย มีความแข็งแรงสูง
นิยามของการปั้นงานประติมากรรม ยุคดิจิตัล 4.0
1. เป็นงานประติกรรมขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 5-10 เมตรขึ้นไป
2. เป็นงานปูนปั้น แบบใช้วิธีการหล่อ โดยการทำพิมพ์แบบใช้ครั้งเดียว (พิมพ์ทุบ)
3. ขึ้นแบบจริงด้วยโฟม ที่ผ่านการกัดด้วยเครื่องจักร CNC
4. เนื้อปูนมีการผสมใยไฟเบอร์
(Fiberglass) หรือที่เราเรียกว่า GFRC
(Glassess Firber Reinforce Cement)
5. มีการถักโครงเหล็กด้านในแบบ 1 ชั้นหรือ 2 ขั้นก็ได้
6. การหล่อ เราจะหล่อเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบ ชิ้นประมาณ 2-3x2-4
m.
7. นำชิ้นงานแต่ละชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน
กรณีศึกษา พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก 22 เมตร ความสูง 35 เมตร
ตั้งอยู่ที่
อุทยานเขาเล่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ผู้ดำเนินการ
คุณสุเมธ ศศิธร นายกเทศบาลอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสร้าง
อาจารย์วิชัย สาหร่ายสลับ
ผู้สแกนและขยายโฟม บริษัท สปาร์ แมคคทรอนิคส์ จำกัด
อุทยานเขาเล่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
|
ขั้นตอนการทำ
1. นำต้นแบบที่ต้องการมาสแกน
2. สแกนเสร็จ เราจะได้ไฟล์สแกนมา
3. จากไฟล์สแกน เราจะทำการขยายองค์พระให้ได้ขนาดหน้าตัก 22 เมตร ตามความต้องการ
สิ่งที่เราได้จากการสแกนคือ
3.1 รูปทรงขององค์พระ เพื่อใช้ในการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม
3.2 รู้ พื้นที่ผิวขององค์พระ ซึ่งเราสามารถคำนวณจากโปรแกรม CAD/CAM ซึ่งองค์นี้เราสามารถคำนวณได้ 1800 ตร. เมตร
3.3 เมื่อเรารู้ พื้นที่ผิว เราสามารถคำนวณน้ำหนักขององค์พระ ตามนี้
พท.ผิว x ความหนา x 2.4 ตัน
1800x0.1x2.4 = 432 ตัน (ความหนาของผิว 10 ซม.)
4. ออกแบบการกัดโฟมในแต่ละชั้น
แบ่งองค์พระออกเป็น 10 ชั้น
|
5. ทำการประกอบโฟมและทำการเข้าพิมพ์ที่หน้างาน ในชั้นแรกเราจะทำที่องค์พระเลย ชั้นที่ 1 (S1)
11. เริ่มทำชั้นที่ 2 (S2) ชั้นนี้เราจะทำที่ใต้ถุนอาคาร
12. ทำการเข้าพิมพ์
13. ทำเหมือนขั้นตอนที่ 7 ถึง 10
14. เทปูนชั้นที่ 2
14. เทปูนชั้นที่ 2
หรือ
บริษัท สปาร์ แมคคาทรอนิคส์ จำกัด
27/11 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองสีวาพาสวัสดิ์ ตำบลนาดี
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
27/11 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองสีวาพาสวัสดิ์ ตำบลนาดี
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
เบอร์ติดต่อ