บทความที่ได้รับความนิยม

ค้นหาบล็อกนี้

Spar Mechatronics Co.,Ltd

บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักร CNC Engarving/router/plasma/milling/lathe machine มาตั้งแต่ปี พศ. 2542 ผลิตเครื่องไปแล้วไม่น้อยกว่า 400 เครื่อง มีทั้งเครื่องขนาดเล็กพื้นที่ทำงานตั้งแต่ 300x300 มม. ไปจนถึง 1500x8000 มม. ทั้งแบบ 3 แกน 4 แกน และปัจจุบันกำลังพัฒนาเครื่องแบบ 5 แกนโดยการร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology (AIT)) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในต้นปีพศ. 2552

เรามีทีมวิศวการที่มีความชำนาญมากว่า 10 ปี ทั้งการออกแบบ การบริการหลังการขาย (After sale service) และให้ตำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องจักร CNC เฉพาะงาน (Custom made CNC) ต่างๆให้เหมาะสมกับงานของท่าน

ท่านสามารถดูรูปเครื่องต่างๆของบริษัท ซึ่งทางบริษัทได้ผลิตออกมาอย่างยาวนาน เป็นรูปที่ไม่มีการตัดต่อ หรือตกแต่งใดๆทั้งสิ้น เพื่อเป็นการยืนยันว่า บริษัท สปาร์ แมคคาทรอนิคส์ จำกัด เป็นผู้นำทางด้าน CNC ของประเทศไทย อย่างแท้จริง ได้ที่ www.picasaweb.google.co.th/sparmec

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสร้างพระพิฆเนศ ขนาด 2.5 เมตรด้วยระบบ CNC

การสร้างพระพิฆเนศขนาดสูง 2.5 เมตร ด้วยระบบดิจิตัล เป็นการสร้างโมเด็ลโฟมก่อน ก่อนที่จะนำมาหล่ออีกทีหนึ่ง แต่ขั้นตอนในการทำ เราจะนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยทำแทนการทำแบบเดิม ที่ใช้มือปั้น

การออกแบบก่อนที่จะสร้างนั้น เราทำได้ 2 วิธี คือ

1. ออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตรง

วิธี นี้เราจะใช้โปรแกรมช่วยออกแบบ 3 มิติ (3D CAD) เช่น โปรแกม 3D studio Max, Maya, Zbrush เป็นต้น วาดออกมาเป็น 2 มิติเลย วิธีนี้ เราจะต้องมี Graphic designer เก่งๆ มาทำและคนๆนี้จะต้องเก่งด้านงานประติมากรรมด้วย ปัจจุบันก็ยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก

2. ปั้นด้วยมือขนาดเล็ก ประมาณความสูง 1 ฟุต จากนั้นนำเข้าเครื่องสแกนแบบ 3 มิติ (3d Scanner) วิธีนี้เหมาะสำหรับท่านที่ไม่มีคนวาด 3 มิติ แต่ว่าเครื่อง สแกนเนอร์ 3 มิติ ปัจจุบันยังมีราคาแพงอยู่


แบบต้นแบบที่เราต้องการทำ




หลังจากที่เราได้แบบ 3 มิติ จากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เราจะมาทำการขยายให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการ คือ 2.5 เมตร ประมาณ 8 เท่า ถ้าเราต้องการสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ เราก็ขยายเพิ่มไปเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ



จากนั้นเราจะกัดโมเด็ลด้วยเครือง CNC Router Machine.

แต่ว่าขนาด ขององค์พระพิฆเนศมีขนาดใหญ่กว่าตัวเครื่องจักรของเรา ดังนั้นเราจะต้องแบ่งออกเป็นชิ้นย่อยๆด้วยโปรแกรม ในงานนี้เราจะแบ่งออกมาเป็นทั้งหมด 38 ก้อน โดยใช้โฟมขนาดก้อนละ 50x50x20 ซม. เนื่องจากเครื่องที่เรามีอยู่เป็นเครื่องขนาดเล็ก คือขนาด 60x60x30 ซม. ถ้าเรามีเครื่องที่ใหญ่กว่านี้เราก็จะใช้ก้อนโฟมใหญ่ จำนวนก้อนโฟมก็จะลดลง

เมื่อเราทำการตัดแบ่งจน เป็นที่พอใจแล้ว เราก็จะนำข้อมูลของแต่ละก้อนมาคำนวณเพื่อใช้ในการกัดโฟมด้วยโปรแกรม CAM (Computer Aids Manufacturing) ในโปรแกรมนี้เราก็จะต้องกำหนด ขนาดของก้อนโฟม ว่ามีขนาดเท่าไหร่ ใช้ดอกสว่านโตเท่าไหร่ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมมูลนี้ ในทางเทคนิคเราเรียกว่า G-Code มันจะเป็นข้อมูลที่มีแต่ตัวเลขไปเข้าเครื่อง CNC เพื่ทำการกัดโฟม



ตัวอย่างการตัด แบ่ง รูปปั้นป็นชิ้นย่อยๆ โดยแต่ละชิ้นจะมีขนาด ไม่เกิน 60x60x20 ซม.

จากนั้นก็ทำการกัดแต่ละก้อน ซึ่งแต่ละก้อนจะใช้เวลประมาณ ครึ่งชม. จนถึงหนึ่งชม. ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานครับ

























ข้อได้เปรียบของการนำเทคนิคนี้มาใช้ก็คือ

1. ทำงานเร็วขึ้นเทียบกับการปั้นด้วยมือทั้งองค์

2.เราสามารถรักษารูปทรง ขนาด รายละเอียดทั้งหมดครบถ้วน

3.เราสามารถเก็บข้อมูลของงานไว้ เพื่อนำมาใช้ในอนาคตได้

4.เราสามารถขยาย/ย่อ ให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการได้ไม่จำกัด เช่นเราสามารถขนาดไปถึง 30 เมตรหรือย่อลงมาเหลือแค่ 1-2 นิ้วได้

5. เมื่อเราสแกนแล้ว เรายังสามารถที่จะแก้ไขชิ้นงานให้ดีก่อนที่จะลงมือทำได้

เห็น ไหมครับว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานศิลป ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเราครับ ทีนี้มีคำถามว่าแล้วงานจะออกมาจากเครื่องจักรนี่ เราจะยอมรับได้หรือ?

ผม คิดว่า งานแบบนี้สุดท้ายเราก็ต้องให้ช่างประติมากรรมมาตกแต่งอยู่ดี เพราะการทำออกมาจากเครื่องจักรนั้นเป็นเพยงการทำงานที่ 80-90% เท่านั้น มนุษย์จะต้องมาเติมเต็มงานให้ครบ 100%

สรุปว่า ช่างประติมากรรมก็ไม่ตกงานนะครับ แต่ช่างจะทำงานได้เร็วขึ้น อย่างงานนี้ เราปั้นองค์เล็กประมาณ 1 ฟุต ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วันก็ทำเสร็จ แถมงานก็ไม่เรียบร้อยเพราะยังไม่ได้ประกอบทั้งองค์

ถ้าหากใครสงสัย หรืออยากแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ก็เชิญครับยินดีมากๆ ขอให้ติดต่อได้ที่

สมภพ
0815651166
sompob@spar.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น