บทความที่ได้รับความนิยม

ค้นหาบล็อกนี้

Spar Mechatronics Co.,Ltd

บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักร CNC Engarving/router/plasma/milling/lathe machine มาตั้งแต่ปี พศ. 2542 ผลิตเครื่องไปแล้วไม่น้อยกว่า 400 เครื่อง มีทั้งเครื่องขนาดเล็กพื้นที่ทำงานตั้งแต่ 300x300 มม. ไปจนถึง 1500x8000 มม. ทั้งแบบ 3 แกน 4 แกน และปัจจุบันกำลังพัฒนาเครื่องแบบ 5 แกนโดยการร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology (AIT)) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในต้นปีพศ. 2552

เรามีทีมวิศวการที่มีความชำนาญมากว่า 10 ปี ทั้งการออกแบบ การบริการหลังการขาย (After sale service) และให้ตำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องจักร CNC เฉพาะงาน (Custom made CNC) ต่างๆให้เหมาะสมกับงานของท่าน

ท่านสามารถดูรูปเครื่องต่างๆของบริษัท ซึ่งทางบริษัทได้ผลิตออกมาอย่างยาวนาน เป็นรูปที่ไม่มีการตัดต่อ หรือตกแต่งใดๆทั้งสิ้น เพื่อเป็นการยืนยันว่า บริษัท สปาร์ แมคคาทรอนิคส์ จำกัด เป็นผู้นำทางด้าน CNC ของประเทศไทย อย่างแท้จริง ได้ที่ www.picasaweb.google.co.th/sparmec

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การปั้นพระพุทธรูป,เกจิอาจารย์หรืองานประติมากรรมขนาดใหญ่ ยุคดิจิตัล 4.0

การปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ยุคดิจิตัล 4.0

ปัจจุบันการปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5-10 เมตรขึ้นไป เป็นการขึ้นโครงสร้างด้วยการถักเหล็กให้เป็นรูปร่างใกล้เคียงก่อน จากนั้นถึงจะทำการฉาบปูนทีหลัง 




แต่เมื่อความก้วหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ การนำเครื่องมือเครื่องไม้ วิธีการใหม่ผสมผสานกับภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม ทำให้การทำพระใหญ่มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคนิคการสแกนแบบ 3 มิติ การนำเครื่องจักร CNC มากัดโฟมต้นแบบ การนำโปรแกรม CAD/CAM มาออกแบบและคำนวณ จึงทำให้งานออกมาได้ดี เร็ว และแม่นยำกว่า

สิ่งที่ข้อได้เปรียบในการสร้างพระใหญ่ ยุคดิจิตัล 4.0

1. งานสร้างต้นแบบ เราสามารถทำแบบขนาดเล็กได้ เช่น ต้นแบบเท่าคนจริง 
2. เมื่อทำการสแกน 3 มิติแล้ว เราจะได้ไฟล์ 3 มิติ ออกมา จากไฟล์นี้ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ดังนี้
      2.1 สามารถคำนวณหา พื้นที่องค์พระ เพื่อที่จะหา น้ำหนักของพระ
      2.2 เมื่อได้น้ำหนัก เราสามารถนำไปออกแบบโครงสร้าง , ฐานราก 
      2.3 รู้ปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้
3. เราสามารถแบ่งองค์พระเป็นชั้นๆ แล้วทำการหล่อแต่ละชิ้น
4. การหล่อเราสามารถหล่อเป็นชิ้นย่อยๆ ขนาด 2-3 เมตรตามขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสม
5. การหล่อเราสามารถหล่อด้านล่างหรือที่ใดๆก็ได้ เมื่อหล่อเสร็จถึงนำขึ้นไปประกอบ
6. การทำงานเราสามารถแบ่งการทำงานออกเป็นทีมได้ เช่น ทีมถอดพิมพ์ , ทีมติดตั้ง ฯลฯ
7. สามารถร่นระยะเวลาในการทำงานลงได้
8. มีความถูกต้องแม่นยำสูง
9. การออกแบบโครงสร้างที่ดี โดยการวางเสาและคานให้ใกล้เคียงกับองค์พระ ทำให้ทำงานง่าย มีความแข็งแรงสูง


นิยามของการปั้นงานประติมากรรม ยุคดิจิตัล 4.0
1. เป็นงานประติกรรมขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 5-10 เมตรขึ้นไป
2. เป็นงานปูนปั้น แบบใช้วิธีการหล่อ โดยการทำพิมพ์แบบใช้ครั้งเดียว (พิมพ์ทุบ)
3. ขึ้นแบบจริงด้วยโฟม ที่ผ่านการกัดด้วยเครื่องจักร CNC
4. เนื้อปูนมีการผสมใยไฟเบอร์ (Fiberglass) หรือที่เราเรียกว่า GFRC (Glassess Firber Reinforce Cement)
5. มีการถักโครงเหล็กด้านในแบบ 1 ชั้นหรือ 2 ขั้นก็ได้
6. การหล่อ เราจะหล่อเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบ ชิ้นประมาณ 2-3x2-4 m. 
7. นำชิ้นงานแต่ละชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน

กรณีศึกษา พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก 22 เมตร ความสูง 35 เมตร

ตั้งอยู่ที่                              อุทยานเขาเล่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ผู้ดำเนินการ                      คุณสุเมธ ศศิธร นายกเทศบาลอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสร้าง        อาจารย์วิชัย สาหร่ายสลับ
ผู้สแกนและขยายโฟม       บริษัท สปาร์ แมคคทรอนิคส์ จำกัด


อุทยานเขาเล่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา



ขั้นตอนการทำ
1. นำต้นแบบที่ต้องการมาสแกน




2. สแกนเสร็จ เราจะได้ไฟล์สแกนมา










3. จากไฟล์สแกน เราจะทำการขยายองค์พระให้ได้ขนาดหน้าตัก 22 เมตร ตามความต้องการ
สิ่งที่เราได้จากการสแกนคือ
3.1 รูปทรงขององค์พระ เพื่อใช้ในการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม
3.2 รู้ พื้นที่ผิวขององค์พระ ซึ่งเราสามารถคำนวณจากโปรแกรม CAD/CAM ซึ่งองค์นี้เราสามารถคำนวณได้ 1800 ตร. เมตร 
3.3 เมื่อเรารู้ พื้นที่ผิว เราสามารถคำนวณน้ำหนักขององค์พระ ตามนี้
      พท.ผิว x ความหนา x 2.4 ตัน
     1800x0.1x2.4 = 432 ตัน (ความหนาของผิว 10 ซม.)







4. ออกแบบการกัดโฟมในแต่ละชั้น
แบ่งองค์พระออกเป็น 10 ชั้น





     





5. ทำการประกอบโฟมและทำการเข้าพิมพ์ที่หน้างาน ในชั้นแรกเราจะทำที่องค์พระเลย ชั้นที่ 1 (S1)






6. ทำพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
                                                         









7. ถอดพิมพ์ออก




8. ถักโครงเหล็ก 2 ชั้น









9. เทปูนหนา 15 ซม.









10. ถอดพิมพ์ออกเรียบร้อย















11. เริ่มทำชั้นที่ 2 (S2) ชั้นนี้เราจะทำที่ใต้ถุนอาคาร 












12. ทำการเข้าพิมพ์













13.   ทำเหมือนขั้นตอนที่ 7 ถึง 10
14. เทปูนชั้นที่ 2








ท่านสามารถติดตามงาน และผลงานของบริษัทได้ที่ 




หรือ
บริษัท สปาร์ แมคคาทรอนิคส์ จำกัด 
27/11 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองสีวาพาสวัสดิ์ ตำบลนาดี
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
เบอร์ติดต่อ
034466429, 08-9120-3191, 08-1454-8849

link ไปที่line : https://goo.gl/mEub9s







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น